“โรคนอนเกิน” นอนมากไป…ใช่ว่าจะดีต่อร่างกาย

0
938
กินอยู่เป็น_โรคนอนเกิน-นอนมากไป...ใช่ว่าจะดีต่อร่างกาย
kinyupen

การนอนพักผ่อนมากกว่า 8 ชั่วโมงขึ้นไป อันตรายต่อร่างกายมาก เพราะจากเดิมหลายคนเข้าใจมาโดยตลอดว่า นอนหลับนาน ๆ ถือเป็นการพักผ่อนอย่างสมบูรณ์แบบ หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่นอนหลับเกิน 8 ชั่วโมง คุณกำลังเข้าข่ายเป็น “โรคนอนเกิน”

กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต ขอนำเสนอเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับการนอนหลับพักผ่อน โดยปกติแล้ว เมื่อเราต้องไปทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงกลางวัน ตกกลางคืนร่างกายรู้สึกอ่อนล้า และต้องได้รับการพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน หากนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง ไม่ดีต่อร่างกายเราอย่างแน่นอน ทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่ แล้วจะมีอาการอ่อนเพลีย ทำงานหรือทำกิจกรรมได้ไม่เต็มแรง หักโหมจนเกินไป ส่งผลให้เราเกิดอาการวูบหรือเป็นลมได้

ขณะเดียวกัน การนอนพักผ่อนมากกว่า 8 ชั่วโมงขึ้นไป หลายคนเข้าใจมาโดยตลอดว่า เป็นเรื่องที่ดีที่ร่างกายจะได้พักผ่อนอย่างสมบูรณ์แบบ แต่ในความเป็นจริงนั้น การนอนมากกว่า 8 ชั่วโมงถือเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมาก เราเรียกอาการแบบนี้ว่า “โรคนอนเกิน” (Hypersomnia) หรือ “ง่วงมากผิดปกติ” (Excessive Sleepiness)

สำหรับ “โรคนอนเกิน” (Hypersomnia) หรือ ง่วงมากผิดปกติ (Excessive Sleepiness) เป็นโรคที่เกิดในคนขี้เซา ยิ่งนอนพักเท่าไหร่ก็ไม่รู้สึกพอ อาการจะดูเฉื่อย ซึม ไร้ชีวิตชีวา ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ สำหรับคนที่มีอาการแบบนี้ หากนอนหลับแล้วจะตื่นขึ้นมายากมาก เมื่อตื่นแล้วร่างกายจะรู้สึกว่าต้องการนอนต่อไปอีก และระหว่างวันก็ต้องการงีบหลับหลาย ๆ ครั้ง และการงีบก็อาจเกิดขึ้นในเวลาที่ไม่เหมาะสม เช่น ช่วงกลางวัน เป็นต้น

ซึ่งคนที่มีอาการเหล่านี้จะสามารถหลับได้ในขณะที่กำลังคุยสนทนาอยู่ หรือแม้กำลังรับประทานอาหาร บางรายง่วงมากขณะนอนหลับ ถ้าถูกปลุกขึ้นมาก็อาจมีอาการพูดจาสับสน นอกเหนือจากอาการง่วงแล้ว ยังหงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ความคิดอ่านไม่แล่น ความจำไม่ดี และมีอาการซึมเศร้าอีกด้วย

สุดท้าย หากคุณพบว่าตัวคุณเองหรือมีคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ญาติพี่น้อง ลูกหลาน มีอาการง่วงมากเกินไปหรือง่วงมากผิดปกติ ขอให้คิดไว้เสมอว่าร่างกายอาจจะผิดปกติแน่นอน ไม่ใช่เกิดจากพฤติกรรมหรือนิสัยเกียจคร้าน แต่เกิดจากโรคทางกายหรือทางใจ ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่ทำการรักษา อย่าปล่อยทิ้งเด็ดขาด อันตรายต่อสุขภาพอย่างแน่นอน และนี่คือวิถีแห่ง กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต

 

ขอขอบคุณ : เนื้อหาจาก รายการ Health me please โดย พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

kinyupen