เชื้อดื้อยา “ซุปเปอร์บัก” มหันภัยเงียบ เล็งคร่าชีวิตมนุษย์หลายล้านคน

0
537
kinyupen

ข้อมูลจาก EOCD ระบุว่า หากมนุษย์ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในภาคสาธารณสุขและสุขลักษณะ เชื้อดื้อยา “ซุปเปอร์บัก” อาจจะทำลายชีวิตมนุษย์หลายล้านคนภายในปี 2050

จากกรณีการพบเชื้อแบคทีเรีย “อีโคไล” ของสหรัฐฯ ซึ่งได้มีการพัฒนาเป็น “ซุปเปอร์บัก” เชื้อที่ต้านทานยาปฏิชีวนะมากมายหลายชนิด ส่งผลลทำให้เกิดการตื่นตัวของเชื้อดื้อยา ซึ่งหลายคนหวั่นวิตกว่าอาจจะคุกคามโลกของเราโดยที่มนุษย์ไม่รู้ตัวมาก่อน

ล่าสุด องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ EOCD เปิดเผยว่า ประชาชนหลายล้านคนอาจเสียชีวิตจากเชื้อโรคดื้อยา “ซุปเปอร์บัก” ภายในปี 2050 และค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการติดเชื้อโรคเหล่านี้อาจจะมีราคาสูงถึง 3,500 ล้านเหรียญต่อปีเลย ที่ผ่านมาประเทศส่วนใหญ่ใช้งบประมาณถึงร้อยละ 10 ไปกับการรักษาอาการจากเชื้อโรคดื้อยาเหล่านี้อยู่แล้ว

สำหรับเชื้อโรค “ซุปเปอร์บัก” เป็นเชื้อดื้อยาชนิดหนึ่งที่มีความรุนแรงมาก และดื้อยาปฏิชีวนะเกือบทุกชนิด ซึ่งคำว่า “ซุปเปอร์บัก” หมายถึงเชื้อแบคทีเรียเป็นหลัก เพราะแบคทีเรียสามารถกลายพันธุ์ได้ง่าย ซุปเปอร์บักกลายพันธุ์จนสามารถย่อยทำลายยาปฏิชีวนะได้ ทำให้ยาหมดประสิทธิภาพ และยิ่งมนุษย์บริโภคยาปฏิชีวนะมากขึ้น ก็จะทำให้แบคทีเรียสามารถพัฒนาการต่อต้านยาเหล่านี้ได้มากขึ้นอีก ไม่เพียงแค่รับประทานยาโดยตรง แต่ผ่านการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ได้รับยาปฏิชีวนะ

นอกจากนี้ รายงานของ OECD ระบุว่า ประเทศอินโดนีซีย บราซิล และรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง มีอัตราการดื้อยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 1 ชนิดสูงถึง 60% และยังคาดการณ์ว่าอัตราการติดเชื้อซุปเปอร์บักจะสูงกว่าทุกวันนี้ 4-7 เท่าภายในปี 2030 และวิธีการเดียวที่จะแก้ปัญหาครั้งนี้คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในภาคสาธารณสุข เพิ่มมาตรการทางสุขลักษณะและลดการใช้ยาปฏิชีวนะ ปรับมาตรการทางสุขลักษณะทั้งในโรงพยาบาลและคลินิก ทำเทสต์หาเชื้อว่าเป็นซุปเปอร์บักหรือไม่ พร้อมย้ำเตือนให้เจ้าหน้าที่ล้างมือและปฏิบัติตามระเบียบความปลอภัยอย่างเคร่งครัด

kinyupen